ที่มาของโครงการ

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ทำการศึกษา รวบรวมและเผยแพร่มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ เวอร์ชัน 2.0 (Government Website Standard Version 2.0) เพื่อผลักดันภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง แนวทางยกระดับการให้บริการประชาชนผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556 เห็นชอบให้หน่วยงานราชการนำ “มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Standard)” ที่สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) ดำเนินการ ไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ของหน่วยงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายของการบูรณาการเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Connected Government) ที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง

สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ในฐานะองค์กรที่ ขับเคลื่อนพัฒนาท้องถิ่นไทย มุ่งสู่ความยั่งยืน มีพันธกิจหลักในการส่งเสริมการพัฒนาระบบการเมืองท้องถิ่นของเทศบาล ส่งเสริมการวิจัย และการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ และการจัดบริการสาธารณะของเทศบาล การฝึกอบรม การอบรม การประชุมทางวิชาการหรือเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาทางวิชาการ หรือเชิงปฏิบัติการ และส่งเสริมและจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของ คณะกรรมการบริหารของสมาคม กรรมาธิการและคณะอนุกรรมาธิการด้านต่าง ๆ ให้มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารและเทคโนโลยีใหม่ ๆ

โครงการจัดอันดับมาตรฐานเว็บไซต์เทศบาลไทย มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนามาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ ด้วยการใช้เทคโนโลยีในการประเมินผลเว็บไซต์เทศบาลที่เป็นสมาชิกมากกว่า 2 พันเทศบาล โดยมีหลักการประเมิน 3 ด้าน ได้แก่

  • Government Website Standard มิติด้านมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ โดยสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.)
  • Web Accessibility เว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ ตามหลัก WCAG 2.0 (Web Content Accessibility Guidelines)
  • Web Performance ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ ตามหลักการตรวจสอบผ่าน Google Lighthouse

โดยมีการจัดอันดับจากคะแนนรวมที่ได้จากการประเมินผล ทั้งนี้ มีการปรับเปลี่ยน ตีความ และงดเว้นบางข้อของมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐไว้ เพื่อความเหมาะสมกับข้อจำกัดด้านการตรวจสอบด้วยเครื่องมืออัตโนมัติ เว็บไซต์มีรายการประเมินแจกแจงไว้เป็นข้อ เพื่อให้เทศบาลสามารถนำไปออกแบบพัฒนาให้เว็บไซต์ ให้มีความพร้อมสำหรับการให้บริการประชาชนผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ

รายละเอียดเกี่ยวกับเกณฑ์การวัดผลแต่ละด้าน
Government Website Standard
มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ

มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐจัดทำขึ้นโดย สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โครงการจัดอันดับมาตรฐานเว็บไซต์เทศบาลไทยนำเอาหลักการประเมินของมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ เวอร์ชัน 2.0 มาใช้และปรับปรุงให้เข้ากับการใช้งาน แบ่งหัวข้อการประเมินทั้งหมด 9 ส่วน ดังต่อไปนี้

  1. การตั้งชื่อเว็บไซต์ภาครัฐ
  2. ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับหน่วยงาน
  3. ข้อมูลเปิดภาครัฐ
  4. การให้บริการของหน่วยงาน
  5. การมีส่วนร่วมของประชาชน
  6. คุณลักษณะที่ควรมี
  7. ความมั่นคงปลอดภัยสำหรับเว็บไซต์
  8. การประกาศนโยบาย
  9. คุณสมบัติพิเศษ

โดยได้นำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาประเมินเว็บไซต์ของสมาชิกเทศบาลของสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และนำมาสรุปเป็นคะแนน 0 - 100 คะแนน

อ่านเอกสารเพิ่มเติมได้ที่นี่ มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ เวอร์ชัน 2.0

Web Performance
ประสิทธิภาพของเว็บไซต์

Lighthouse เป็นเครื่องมือตรวจสอบประสิทธิภาพของเว็บไซต์ที่พัฒนาโดย Google ซึ่งการวัดผลจะนำคะแนน 3 ส่วน ดังต่อไปนี้มาพิจารณา

  • Performance ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของเว็บไซต์ ความเร็วในการโหลดข้อมูล
  • Best Practices พัฒนาเว็บไซต์โดยใช้แนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องและดีที่สุด และรองรับการทำงานแบบ Cross Platform, Browser, Device
  • SEO (Search Engine Optimisation)  พัฒนาเว็บไซต์ให้มี เนื้อหา โครงสร้าง องค์ประกอบโดยรวม ที่สนับสนุนเครื่องมือค้นหา

โดยได้นำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาประเมินเว็บไซต์ของสมาชิกเทศบาลของสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และนำมาสรุปเป็นคะแนน 0 - 100 คะแนน

ทั้งนี้มีการตัดส่วน Progressive Web App และ Accessibility ออกเนื่องจากมีความซ้ำซ้อนกับการประเมินผล Web Accessibility และเพื่อความเหมาะสมในการประมวลผล

อ่านเพิ่มเติมได้ที่

Web Accessibility
เว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้

WCAG 2.1 เป็นแนวทางการพัฒนาและออกแบบเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ เพื่อให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์ที่มีความสามารถทางร่างกายที่แตกต่างกันสามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้งานอย่างเท่าเทียมกัน โดย WCAG ย่อมาจาก Web Content Accessibility Guidelines เป็นมาตรฐานที่พัฒนาโดย W3C บนพื้นฐานที่ว่าการใข้งานเว็บไซต์ต้องคำนึงถึงประเด็นดังต่อไปนี้

  • รับรู้ได้ (Perceivable)
  • เข้าใจได้ (Understandable)
  • ใช้งานได้ (Operable)
  • แข็งแกร่งต่อการเปลี่ยนแปลง (Robust)
  • ความสอดคล้อง (Conformance)

WCAG แบ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็นหลายหมวด ดังนี้

  • Keyboard
  • Text Alternatives
  • ARIA
  • Forms
  • Time and Media
  • Structure
  • Language
  • Name Role Value
  • Semantics
  • Parsing
  • Tables
  • Color
  • Sensory and Visual Cues

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Web Content Accessibility Guidelines (WCAG) 2.1